วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560
วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560
19-EARTH-ATMOSPHERE, บทบาทความสำคัญของก๊าซบางชนิด
1. ความสำคัญของก๊าซไนโตรเจน
ความสำคัญต่อโลก
- รักษาสมดุลของอากาศ การที่อากาศมีก๊าซไนโตรเจนปะปนอยู่เป็นปริมาณมาก เป็นผลให้ปริมาณของออกซิเจนในอากาศจางลง จนใช้อากาศสำหรับหายใจได้โดยปลอดภัย
ความสำคัญต่อมนุษย์
- นำไปสังเคราะห์ก๊าซแอมโมเนีย ในอุตสาหกรรมสามารถใช้แอมโมเนีย และกรดไนตริกไปสังเคราะห์สารอื่นที่มีประโยชน์มากมายเช่น ปุ๋ย สี ยารักษาโรค วัตถุระเบิด ปลาสติก
- ผสมในถังอากาศหายใจ
- ใช้เติมลมยางรถยนต์
- ใช้ใส่ในซองขนมถุง
- ทำไนโตรเจนเหลว
ความสำคัญต่อพืช
- พืชนำไปใช้ในการสร้างแร่ธาตุไนโตรเจน
2. ความสำคัญของก๊าซออกซิเจน
- จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์
3. ความสำคัญของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ความสำคัญต่อโลก
- ตัวกักเก็บความร้อนในเวลากลางคืน
ความสำคัญต่อมนุษย์
- ใส่ในน้ำอัดลม
- ใช้ในการดับเพลิง
- ใช้ทำน้ำแข็งแห้ง
ความสำคัญต่อพืช
- ใช้ในการสังเคราะห์แสง
-
ข้อ 20-EARTH-ATMOSPHERE-บรรยากาศ
https://www.slideshare.net/greengreenz/ss-52280450
https://www.slideshare.net/greengreenz/ss-52280450
http://imgur.com/S5pU9pe
https://www.slideshare.net/khoocarolyn/2011-cellular-respiration
https://www.slideshare.net/teacherkobwit/atmosphere
http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=321§ion=30&issues=23
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560
ข้อ 16-EARTH-WIND PART 1 CONCEPT 4-ประเภทของพายุ
http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/2/index_ch_2-6.htm
เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า “มรสุม” หรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดูกาล (season) สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=52
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)